สวัสดีปีหนู

 

            อำลาปีกุนเข้าสู่ปีชวดซึ่งเป็นปีที่ ๑ ของรอบปีนักษัตร มีหนูเป็นเครื่องหมายประจำปีนี้ ผู้เขียนขอนำความรู้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ มานำเสนอท่านผู้อ่าน ดังนี้

                คำว่า ชวดในพจนานุกรม มี ๓ ความหมาย ความหมายแรก หมายถึง ชื่อปีที่ ๑ ของรอบปีนักษัตร มีหนูเป็นเครื่องหมาย ความหมายที่ ๒ หมายถึง ผิดหวัง ไม่ได้ดังหวัง ความหมายที่ ๓ หมายถึง พ่อหรือแม่ของปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ก็ว่า

                คำว่า นักษัตรเป็นภาษาสันสกฤต มี ๒ ความหมาย ความหมายแรก หมายถึง ดาว ดาวฤกษ์ ความหมายที่ ๒ หมายถึง ชื่อรอบเวลา กำหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น คือ ชวด-หนู ฉลู-วัว ขาล-เสือ เถาะ-กระต่าย มะโรง-งูใหญ่ มะเส็ง-งูเล็ก มะเมีย-ม้า มะแม-แพะ วอก-ลิง ระกา-ไก่ จอ-หมา กุน-หมู          

                สระในภาษาไทยคือ    ”  จะเห็นเครื่องหมาย “ ” ” บนสระ    ”  เครื่องหมายนั่นแหละเรียกว่า มูสิกทันต์หรือ ฟันหนูนอกจากนั้น ในพจนานุกรมได้อธิบายว่า หนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica)  หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะนำโรค เมื่อใช้เป็นคำวิเศษณ์ หนูหมายถึง เล็กใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของบางอย่างชนิดเล็ก เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู หากเป็นภาษาปาก หนูหมายถึง สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่ สรรพนามบุรุษที่ ๒ ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย คำสำหรับเรียกเด็ก มีความหมายไปในทางเอ็นดู เช่น หนูแดง หนูน้อย

                หวังว่าผู้อ่านคงได้รับความรู้เกี่ยวกับคำว่า หนูพอสมควร และขอสวัสดีปีใหม่ผู้อ่านทุกท่าน

                                                                                                                                                ณัฐมาตย์  มูสิกะเจริญ