Page 8 - รายงานราชบัณฑิต ๒๕๖๐ web
P. 8

บทสรุปผู้บริหาร




                       ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐  สำานักงานราชบัณฑิตยสภาได้ดำาเนินงานและพัฒนางานด้านต่าง ๆ ต่อเนื่องจาก
            ปี ๒๕๕๙  โดยพัฒนางานด้านวิชาการและนำาผลงานให้บริการเผยแพร่สู่ประชาชน  ตอบสนองความต้องการของ

            ประชาชนได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วยิ่งขึ้น  จากการเปิดให้บริการโปรแกรมประยุกต์หรือแอปพลิเคชันพจนานุกรม
            ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ และแอปพลิเคชันอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
            แล้ว ยังมีการพัฒนาและเปิดให้บริการแอปพลิเคชันภูมิศาสตร์ “ชื่อบ้านนามเมือง” ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่รวบรวม
            ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวงในต่างประเทศ แสดงชื่อเป็นภาษาต่างประเทศและชื่อที่เขียน
            เป็นภาษาไทย กว่า ๑,๕๐๐ แห่ง และชื่อเขตการปกครองในประเทศ แสดงชื่อเป็นภาษาไทยและชื่อที่เขียนโดยการ

            ถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน กว่า ๘,๔๐๐ แห่ง  และเปิดให้บริการแอปพลิเคชันภาษาอาเซียนอีกหนึ่งแอปพลิเคชัน
            นอกจากนี้  เพื่อประโยชน์และความเสมอภาคทางการศึกษาของคนพิการทางการได้ยิน สำานักงานราชบัณฑิตยสภา
            ได้พัฒนาและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล  จัดทำา “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสภา”

            เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ๑๒
            สิงหาคม ๒๕๕๙  เพื่อให้คนพิการทางการได้ยินสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเท่าเทียมกับคนที่มีการได้ยิน
                       กิจกรรมอื่น ๆ ที่สำานักงานราชบัณฑิตยสภาได้ดำาเนินการนอกเหนือจากการพัฒนางานด้าน
            วิชาการและนำาผลงานให้บริการเผยแพร่สู่ประชาชนแล้ว  สำานักงานราชบัณฑิตยสภายังได้ตระหนักถึงกิจกรรม
            ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยได้จัดกิจกรรมบำาเพ็ญสาธารณประโยชน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

            เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ มอบหนังสือและสื่อความรู้และร่วมกันจัด
            มุมหนังสือให้แก่โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม เขตดุสิต กรุงเทพฯ และจัดกิจกรรมถวายพระกุศล เนื่องในโอกาส
            ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเจริญพระชันษา ๖๐ ปี ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐

            โดยมอบหนังสือให้แก่ศูนย์เยาวชนเทเวศร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
                       สำานักงานราชบัณฑิตยสภาได้ให้ความสำาคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมการเรียนรู้
            ภาษาไทย มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแก่กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
            เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภาษาถิ่นและภูมิปัญญาถิ่นในทุกภาคของประเทศ  เช่น การจัดทำาองค์ความรู้เกี่ยวกับภาษาถิ่น
            ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ การจัดทำาพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ๓ ภาค ฉบับราชบัณฑิตยสภา การผลิตรายการวิทยุ

            การฝึกอบรมเสริมความรู้ด้านภาษาไทยแก่ครูภาษาไทย  ตลอดจนจัดกิจกรรมประกวดนักเรียนให้เล่าเรื่องความ
            ภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนโดยใช้ภาษาถิ่น  และจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ภายใต้หัวข้อ
            “ภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น รักการอ่าน สืบสานภาษาไทย” อีกด้วย

                       ส่วนงานของราชบัณฑิตยสภา   นอกจากหน้าที่ภารกิจและบทบาทสำาคัญในการสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์
            สาขาต่าง ๆ การกำาหนดมาตรฐานการใช้ภาษาไทย และการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางวิชาการแก่ประชาชนแล้ว
            สำานักงานราชบัณฑิตยสภาได้บริหารโครงการและสนับสนุนด้านการประสานงานรวมถึงการติดต่อแลกเปลี่ยน
            ความรู้ด้านต่าง ๆ กับองค์กรปราชญ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  การจัดโครงการราชบัณฑิตสัญจรของสำานักต่าง ๆ
            และจัดแถลงข่าวราชบัณฑิตให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและมีผลกระทบต่อสถานการณ์

            ของโลก นับได้ว่าสำานักงานราชบัณฑิตยสภาและราชบัณฑิตยสภาได้มีการพัฒนาการดำาเนินงานให้สอดคล้องกับ
            ยุคสมัยปัจจุบันและมีประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมือง เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ

            และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการอย่างแท้จริง.





                                                               (นางสาวกนกวลี  ชูชัยยะ)

                                                              เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13