สำนักงานราชบัณฑิตยสภาร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒

ศาสตราจารย์ นพ.สุรพล อิสรไกรศีิล นายกราชบัณฑิตยสภา นำราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร
30084

30055

30058

30072

30082

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดโครงการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันการทุจริต เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต้านโกง

เมื่อวันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยกลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) จัดโครงการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันการทุจริต โดยเลขาธิการราชบัณฑิตยสภามอบหมายให้นางสาวอารี พลดี รักษาราชการแทนเลขานุการกรม หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ นำข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเดินทางไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต้านโกง และฟังการบรรยายเรื่อง การสร้างจิตสำนึกในการป้องกันการทุจริต เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีในการป้องกันการทุจริต ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของสำนักงานราชบัณฑิตยสภามีทัศนคติและค่านิยมในการปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต และเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่นิ่งเฉยต่อการทุจริต
1 (1)

1 (2)

1 (3)

1 (4)

1 (5)

1 (6)

1 (7)

1 (8)

1 (9)

1 (10)

1 (11)

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดอบรมเสริมความรู้ด้านภาษาไทยแก่ครูภาษาไทย : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ ๑๒-๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ห้องคอนเวนชั่น ๓ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดขอนแก่น เพื่อเสริมความรู้ แนวคิด และมุมมองทางด้านภาษาแก่ครูอาจารย์ผู้สอนภาษาไทยให้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับภาษาไทยและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม มีการพัฒนาทักษะด้านภาษาไทย วรรณคดี วรรณกรรม ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ สอนได้ และมีแนวคิดในการจัดกระบวนการการเรียนการสอนที่เหมาะสม ทั้งนี้ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภามอบหมายให้ นางสาวสุปัญญา ชมจินดา ผู้อำนวยการกองศิลปกรรม เป็นประธานเปิดการอบรม

ในงานมีการบรรยายเรื่อง “องค์ความรู้ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา” โดย นางสาวสุปัญญา ชมจินดา การบรรยายเรื่อง “ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นกับการศึกษาภาษาและวรรณคดีไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคำ การบรรยายเรื่อง “ภาษาไทยเชิงวิเคราะห์เพื่อพัฒนาศักยภาพการสอนและการสื่อสาร” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชลธิชา บำรุงรักษ์ และการบรรยายเรื่อง “เป้าหมายและกลวิธีการสอนวรรณคดีไทย” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ทั้งนี้ได้รับความสนใจจากอาจารย์ผู้สอนภาษาไทยในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมการอบรมเป็นจำนวนมาก

1

2

3 (1)

3 (2)

4

5

IMG_8346

IMG_8351

IMG_8356

IMG_8357

IMG_8403

IMG_8407

IMG_8409

IMG_8422

IMG_8441

IMG_8476

IMG_8481

IMG_8487

IMG_8820

IMG_8823

IMG_8855

IMG_8888

IMG_8956

IMG_8959

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเก็บข้อมูลภาษาไทยถิ่น ภาคเหนือ ณ จังหวัดแพร่

เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการดำเนินงานจัดทำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ภาคเหนือ ได้เดินทางไปจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเก็บข้อมูลภาษาไทยถิ่น ภาคเหนือ ร่วมกับนักวิชาการท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน ณ ห้องนานา ๑ โรงแรมเฮือนนานา จังหวัดแพร่ และฟังการบรรยายเพื่อเก็บข้อมูลภาษาไทยถิ่น ภาคแพร่ ณ พื้นที่ทางวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ, หอศาสตราแสนเมืองฮอม, ศูนย์การเรียนรู้ผ้าจกเมืองลอง, คุ้มเจ้าหลวง, คุ้มวงศ์บุรี, วัดพระบาทมิ่งเมือง, และวัดพระหลวง (ธาตุเนิ้ง)
กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการจัดทำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ๓ ภาค ฉบับราชบัณฑิตยสภาให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากนักวิชาการท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรับฟังข้อมูลจากนักวิชาการท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเก็บข้อมูลคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นในแต่ละภาค
1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒

นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา พร้อมด้วยผู้บริหารร่วมพิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ ๔๑๐ รูป ถวายพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง และหลังจากนั้นเดินทางไปลงนามถวายพระพร ณ ศาลาสหทัยสมาคม ร่วมกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
1

2

3

4

5

6

7

8

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเก็บข้อมูลภาษาไทยถิ่น ภาคอีสาน ณ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม

เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการดำเนินงานจัดทำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ภาคอีสาน ได้เดินทางไปจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเก็บข้อมูลภาษาไทยถิ่น ภาคอีสาน ร่วมกับนักวิชาการท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน ณ ห้องโกสัมพี โรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคาม และฟังการบรรยายเพื่อเก็บข้อมูลภาษาไทยถิ่น ภาคอีสาน ณ พื้นที่ทางวัฒนธรรมวัดมัชฌิมวิทยาราม จังหวัดขอนแก่น วัดโพธาราม จังหวัดมหาสารคาม พิพิธภัณฑ์คัมภีร์ใบลาน พระอริยานุวัตร เขมจารีนุสรณ์ วัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม และกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง จังหวัดมหาสารคาม
กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการจัดทำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ๓ ภาค ฉบับราชบัณฑิตยสภาให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากนักวิชาการท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรับฟังข้อมูลจากนักวิชาการท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเก็บข้อมูลคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นในแต่ละภาค
1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ทิศทางและการดำเนินงานของราชบัณฑิตยสภา”

เมื่อวันพุธที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องราชดำเนิน โรงแรมรอยัลปริ๊นเซสหลานหลวง กรุงเทพมหานคร สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ทิศทางและการดำเนินงานของราชบัณฑิตยสภา” โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมฯ และแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “บทบาทของราชบัณฑิตยสภากับยุทธศาสตร์ชาติ” และมี ศ. นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา กล่าวรายงานและบรรยายเรื่อง “ทิศทางและการดำเนินงานของราชบัณฑิตยสภา”
วัตถุประสงค์ของการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก จาก ๓ สำนัก รวมทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นร่วมกันในการกำหนดทิศทางและการดำเนินงานของราชบัณฑิตยสภา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำไปจัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านวิชาการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อองค์กรในอนาคตต่อไป ซึ่งนอกจากการบรรยายข้างต้นแล้ว มีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง กลุ่มสำนักวิทยาศาสตร์ และกลุ่มสำนักศิลปกรรม เพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการ หารือและร่วมกันพิจารณาในการกำหนดทิศทางและการดำเนินงานของราชบัณฑิตยสภาให้สอดคล้องและตรงตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และตอบสนองความต้องการของประชาชน พร้อมทั้งมีการรายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการของกลุ่มย่อยในที่ประชุมด้วย
IMG_7844

IMG_7865

IMG_7879

IMG_7881

IMG_7884

IMG_7900

IMG_7908

IMG_7954

IMG_7958

IMG_7977

IMG_8005

IMG_8028

IMG_8035