แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ของราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๙

๑. บททั่วไป

      ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่แยกมาจาก ราชบัณฑิตยสภา เดิม ซึ่งเป็นเป็นหน่วยงานที่ทำงานทั้งทางวิชาการและปฏิบัติการในด้านหนังสือตำรา วรรณคดี โบราณคดีและประณีตศิลป์ ต่อมาหลังจากที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕  รัฐบาลได้เห็นว่า การจะทำนุบำรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าตามแบบอารยประเทศได้ ประเทศไทยจะต้องมีผู้ทรงความรู้ทัดเทียมกับประเทศที่มีความเจริญทางวิชาการ และจะต้องมีสถาบันที่เป็นแหล่งรวมนักวิชาการสาขาต่าง ๆ เพื่อจะได้ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์การปราชญ์ของนานาประเทศ แล้วทำการค้นคว้า วิจัย จัดทำเป็นตำราออกเผยแพร่สู่ประชาชนและนักศึกษา

รัฐบาลจึงได้ยกเลิกราชบัณฑิตยสภา แล้วตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ๒ หน่วยงาน คือ ราชบัณฑิตยสถาน และ กรมศิลปากร  ซึ่งที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่า ด้วยราชบัณฑิตยสถานให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน  ราชบัณฑิตยสถานในสมัยนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลตามสมควร และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ

ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ สภาผู้แทนราษฎรได้ตราพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๘๕ ขึ้นใช้แทนพระราชบัญญัติฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๖  โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือกราชบัณฑิตก่อนนำความกราบบังคมทูล  และฐานะของราชบัณฑิตยสถานเปลี่ยนไปเป็นทบวงการเมือง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ต่อมามีการตราพระราชบัญญัติราช บัณฑิตยสถาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๗ แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๕ ในบางมาตรา โดยให้ที่ประชุมราชบัณฑิตเป็นผู้เลือกภาคีสมาชิก แล้วเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคม      ทูลพระกรุณาทรงแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต และฐานะของราชบัณฑิตยสถานเปลี่ยนเป็นหน่วยงานอิสระขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๔๘๕

ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ราชบัณฑิตยสถานยังคงเป็นหน่วยงานอิสระ แต่เปลี่ยนมาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  พ.ศ. ๒๕๐๑ ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๑๕ มีสถานภาพเป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้มี พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๔  โดยยกเลิกพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๘๕ และฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๗  พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑๐๔ ก เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ และใช้มาจนถึงทุกวันนี้

สถานภาพปัจจุบัน

      ราชบัณฑิตยสถานเป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น มีฐานะเป็นกรม ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในส่วนงานที่เป็นข้าราชการประจำ มีข้าราชการประจำทำหน้าที่ดำเนินงานและประสานการปฏิบัติงานด้านวิชาการ ระหว่างราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก กรรมการวิชาการ โดยมีราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกเป็นหลักในการกำหนดนโยบายและดำเนินงานทางด้าน วิชาการ  และมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมปฏิบัติงานในฐานะกรรมการวิชาการ

๑.๑ วิสัยทัศน์

๑.๑.๑ วิสัยทัศน์โดยรวมของราชบัณฑิตยสถาน
             ราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ

๑.๑.๒ วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของราชบัณฑิตยสถาน
            ราชบัณฑิตยสถานนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาพัฒนาและปรับใช้กับ งานของราชบัณฑิตยสถาน ทั้งงานด้านการค้นคว้าวิจัย การจัดทำฐานข้อมูลวิชาการสาขาต่าง ๆ การให้บริการงานวิชาการ การผลิตสื่อชนิดต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ผลงานของราชบัณฑิตยสถานในรูปแบบเอกสารและตำราทางวิชาการ ที่เป็นสิ่งพิมพ์ เอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งงานด้านการบริหารและการจัดการ

๑.๒ พันธกิจ

          ๑.๒.๑ พันธกิจโดยรวมของราชบัณฑิตยสถาน

๑.  ค้นคว้า วิจัย และบำรุงสรรพวิชา แล้วนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและ ประชาชน

๒.  ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสานงานวิชาการกับองค์การปราชญ์และสถาบันทาง วิชาการอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๓.  ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี

๔.  ให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชนและประชาชน

๕.  ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยและงาน วิชาการอื่น ๆ

๖.  กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น

         ๑.๒.๒ พันธกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของราชบัณฑิตยสถาน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ราชบัณฑิตยสถานจึงกำหนดพันธกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไว้ดังนี้

๑. สร้างบุคลากรของราชบัณฑิตยสถาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถสร้างสรรค์ผลงาน และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

๒. จัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการทุกสาขาวิชาที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้น

๓. การให้บริการสอบค้นงานทางวิชาการในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่ประชาชน เช่น การให้บริการสอบค้นฐานข้อมูลพจนานุกรมและฐานข้อมูลทางวิชาการอื่น ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน การบริการตอบคำถามทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

๑.๓ ยุทธศาสตร์

         ๑.๓.๑ ยุทธศาสตร์โดยรวมของราชบัณฑิตยสถาน

                         ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การเพิ่มจำนวนองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ และพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานในการใช้ภาษาไทย

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ

         ๑.๓.๒ ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของราชบัณฑิตยสถาน

                         เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์โดยรวมของหน่วยงาน ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านสารสนเทศและการสื่อสารไว้ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : สร้างฐานข้อมูลรวมองค์ความรู้ทางวิชาการที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้นทั้งหมด ให้สามารถใช้สอบค้นหาข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว

  ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : จัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่บรรจุข้อมูลองค์ความรู้ที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้นออกเผยแพร่ให้เป็นที่ รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

๒. สถานภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ
ราชบัณฑิตยสถาน

ราชบัณฑิตยสถานเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยในระยะแรกนำเครื่องมาใช้ในลักษณะของเครื่องประมวลผลคำ เน้นการใช้งานในด้านการจัดทำเอกสารและต้นฉบับหนังสือทางวิชาการที่ราช บัณฑิตยสถานผลิตขึ้น เพื่อนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน

ต่อมาเมื่อราชบัณฑิตยสถานพิจารณาเห็นว่าการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้นในรูปแบบของเอกสารและหนังสือตำราต่าง ๆ นั้น ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ได้ เนื่องจากราชบัณฑิตยสถานมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณและอัตรากำลังรวมทั้งสถาน ที่ จึงได้เปิดบริการผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต โดยประมวลผลงานเท่าที่จะสามารถนำออกเผยแพร่ได้จัดทำในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำออกให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย การดำเนินงานด้านนี้ได้รับความสนใจจากผู้ใช้บริการและมีผลให้ผลงานของราช บัณฑิตยสถานเผยแพร่กระจายออกไปสู่บุคคลในทุกสาขาอาชีพ รวมทั้งได้รับการตอบสนองจากผู้ใช้ด้วยดีและเป็นที่นิยมมากขึ้น โครงการนี้จึงดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต้องปรับระบบและขยายงานให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยสรุปสถานภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของราชบัณฑิตยสถานแบ่งออก ได้เป็น ๔ ระยะ ดังนี้

ระยะที่ ๑  พ.ศ. ๒๕๓๔-พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นครั้งแรกที่ราชบัณฑิตยสถานได้เริ่มนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ งานในหน่วยงาน โดยใช้งานจัดทำเอกสารและรายงานการประชุมคณะกรรมการวิชาการคณะต่าง ๆ เป็นหลัก

      ระยะที่ ๒  พ.ศ. ๒๕๓๖-พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นระยะที่ราชบัณฑิตยสถานมองเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารมากยิ่งขึ้น ด้วยตระหนักว่างานของราชบัณฑิตยสถานจะสามารถดำเนินไปได้ดีและรวดเร็วยิ่ง ขึ้นหากนำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการดำเนินงาน จึงได้จัดวางระบบเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN) ขึ้นใช้งานภายในองค์กร และเริ่มมีการรวมรวบข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายมาจัดทำรวมไว้ที่เครื่องแม่ ข่ายเพื่อให้บริการแก่ส่วนงานต่าง ๆ

ระยะที่ ๓  พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๒ เมื่อความต้องการใช้งานเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีมากขึ้น และเห็นว่าการใช้งานเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในลักษณะเครือข่ายเฉพาะที่ซึ่ง ให้บริการได้จำกัด เพราะงานด้านวิชาการของราชบัณฑิตยสถานแต่ละงานมีความจำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูล ที่สามารถสอบค้นได้ง่ายและปรับปรุงแก้ไขได้รวดเร็ว ประกอบกับในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๙ ราชบัณฑิตยสถานได้ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีภาษาและ วิทยาการความรู้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมกันพัฒนาและจัดทำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ในรูปแบบของซีดีรอมออกเผยแพร่ เนื่องในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราชบัณฑิตยสถานจึงได้ขอความร่วมมือให้ทางหน่วยปฏิบัติการฯ ดังกล่าว จัดทำฐานข้อมูลพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ขึ้นเพื่อนำไปใช้ในงานการจัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน นับเป็นฐานข้อมูลแรกที่ราชบัณฑิตยสถานได้จัดทำขึ้นใช้งาน

ระยะที่ ๔  พ.ศ. ๒๕๔๓-ปัจจุบัน เป็นระยะที่ราชบัณฑิตยสถานพิจารณาเห็นว่า ข้อมูลด้านองค์ความรู้สาขาวิชาต่าง ๆ ที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้น หากสามารถนำออกเผยแพร่ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ก็จะอำนวยประโยชน์ให้แก่ ประชาชน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงสื่อด้านนี้ได้มากขึ้น ราชบัณฑิตยสถานจึงได้จัดสร้างเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยมุ่งให้บริการงานด้านวิชาการสาขาต่าง ๆ ที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้นเป็นหลัก  ในระยะแรกได้ปรับปรุงฐานข้อมูลพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ออกเผยแพร่ให้บริการค้นหาคำและบทนิยามคำผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ใช้จำนวนมาก ต่อมาราชบัณฑิตยสถานจึงได้จัดทำโครงการฐานข้อมูลทางวิชาการของราช บัณฑิตยสถานขึ้น และทยอยนำออกเผยแพร่เพิ่มเติมเรื่อยมา ปัจจุบันในเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถานมีฐานข้อมูลทางวิชาการที่ราชบัณฑิตยสถาน ผลิตขึ้นนำออกเผยแพร่ประกอบด้วยฐานข้อมูลศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน ๑๙ สาขาวิชา เอกสารหรือหนังสือตำราทางวิชาการ ๒ สาขาวิชา นอกจากนี้ ยังมีหลักเกณฑ์ทางด้านภาษา เช่น หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

๒.๑ สถานภาพด้านไอซีที เฉพาะภายในของหน่วยงานราชบัณฑิตยสถาน
การนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีด้านสารสนเทศเข้ามาใช้ภายในหน่วยงาน เน้นหนักไปทางด้านการจัดทำเอกสารและต้นฉบับหนังสือวิชาการ อุปกรณ์ด้านสารสนเทศที่นำมาใช้งานด้านนี้จึงเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ เป็นเครื่องประมวลผลคำและเครื่องประมวลผลคำระดับสูง เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ เพื่อผลิตงานพิมพ์ออกเผยแพร่และจัดทำรายการงานการประชุมทางวิชาการของคณะ กรรมการต่าง ๆ ภายในกองแต่ละกอง โดยมีศูนย์สารสนเทศราชบัณฑิตยสถานซึ่งตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานเสริมเฉพาะกิจ เป็นผู้รับผิดชอบด้านการวางแผนงาน วางระบบ และควบคุมการใช้งาน สถานภาพด้านไอซีทีของหน่วยงานจึงมีข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ดังนี้

         ๒.๑.๑ ปัจจัยด้านบุคลากรด้านไอซีที
โดย ที่ราชบัณฑิตยสถานไม่ได้มีหน่วยงานด้านไอซีทีมาก่อน การเริ่มงานด้านนี้เริ่มจากการนำเอาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งานใน ลักษณะเครื่องประมวลผลคำเพียงอย่างเดียว ซึ่งบุคลากรไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านไอซีทีมากนัก แต่เมื่อมีการขยายระบบและปรับปรุงงานด้านนี้ ราชบัณฑิตยสถานได้รับการจัดสรรเพียงเครื่องมือ คือ อุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ไม่ได้รับการจัดสรรอัตรากำลังบุคลากรด้านไอซีที ราชบัณฑิตยสถานจึงขาดแคลนบุคลากรด้านไอซีที ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างลำบากมาก เนื่องจากไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งราชบัณฑิตยสถานได้แก้ปัญหาโดยจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายในขึ้นและมอบหมาย ให้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านนี้อยู่บ้างเข้าไปดำเนินงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็มีงานหลักในหน้าที่ของตนอยู่แล้ว การปฏิบัติงานจึงทำได้ไม่เต็มที่ และไม่สามารถดำเนินงานให้ลุล่วงทันตามเป้าหมายได้

         ๒.๑.๒ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ
เนื่อง จากเป็นหน่วยงานภายในที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านไอซีที ผู้รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายยังคงอยู่ในสายการบังคับบัญชาของต้นสังกัด การมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่รับไปปฏิบัติ หรือให้ดำเนินงานใด ๆ ด้านไอซีที จึงไม่ใช่งานหลักในหน้าที่ของบุคคลนั้น ๆ แต่เป็นเสมือนงานฝาก หากเจ้าหน้าที่เหล่านั้นมีงานในหน้าที่หลักตามสายงานของตนต้องรับผิดชอบอยู่ ก็จะทำงานในหน้าที่หลักของตนก่อน งานด้านไอซีทีก็จะเป็นงานรอง ซึ่งทำให้การดำเนินงานด้านไอซีทีล่าช้า และไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปตามแผนหรือเป้าหมายได้

๒.๒ สถานภาพด้านไอซีทีของราชบัณฑิตยสถาน ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภายนอก รวมทั้งปัจจัยหรืออิทธิพลภายนอกที่มีผลกระทบต่อด้านไอซีทีของราชบัณฑิตยสถาน
              ดัง ได้กล่าวแล้วในเรื่องสถานภาพด้านไอซีทีเฉพาะภายในหน่วยงานว่า ราชบัณฑิตยสถานขาดแคลนกำลังบุคลากรด้านไอซีที ปัจจัยภายนอกที่ผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านไอซีทีของราชบัณฑิตยสถานจึง เกี่ยวข้องกับ มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการควบคุมบุคลากรภาครัฐ และชลอการขยายและแบ่งส่วนราชการ โดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทำให้ราชบัณฑิตยสถานไม่สามารถเพิ่มบุคลากรด้านไอซีทีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ รัฐได้

๓. เป้าหมายโดยรวมและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของราชบัณฑิตยสถาน

      ๓.๑ เป้าหมายโดยรวมของการพัฒนาระบบไอซีทีของราชบัณฑิตยสถาน
โดยที่ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และ กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทางด้านการใช้ภาษา นับเป็นแหล่งความรู้ขนาดใหญ่ที่ทุกคนควรได้รับและนำความรู้ไปใช้ให้เป็น ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและสังคม แต่เดิมการเข้าถึงแหล่งความรู้ของราชบัณฑิตยสถานกระทำได้เพียงวิธีการเดียว คือการใช้ตำราหรือเอกสารที่ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ ซึ่งผลิตได้เพียงปริมาณจำกัดเนื่องจากมีจำนวนบุคลากรน้อย ปัญหาด้านงบประมาณ และมีต้นทุนในการดำเนินงานที่สูง แต่ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน ทุกคนมีโอกาสมากขึ้นที่จะเข้าถึงแหล่งความรู้ของราชบัณฑิตยสถานได้จากทุกที่ โดยอาศัยระบบไอซีที

ราชบัณฑิตยสถานมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบไอซีทีของราชบัณฑิตยสถานให้เป็น แหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่ราชบัณฑิตยสถานได้ผลิตขึ้นให้ทุกคนเข้าถึงได้โดยง่ายและนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันการณ์ และคุ้มค่า โดยอาศัยระบบไอซีทีเป็นเครื่องมือ

๓.๒ ยุทธศาสตร์

๓.๒.๑ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : เป็นแหล่งรวมข้อมูลองค์ความรู้ทางวิชาการที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้นทั้งหมด ให้สามารถใช้สอบค้นหาข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เพื่อใช้ในการค้นคว้าและอ้างอิง

  เป้าหมาย  : เผยแพร่องค์ความรู้ที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้นให้แพร่หลาย และมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า

โครงการ  : ๑. จัดทำฐานข้อมูลและเอกสารทางวิชาการของราชบัณฑิตยสถานออกเผยแพร่ทางเว็บไซต์
๒. จัดหาเครือข่ายการทำงานและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

๓.๒.๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๒  : สร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ บรรจุข้อมูลองค์ความรู้ที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้นออกเผยแพร่ให้เป็นที่ รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

เป้าหมาย  : เผยแพร่องค์ความรู้ที่ราชบัณฑิตยสถานผลิตขึ้นให้แพร่หลาย และมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า

โครงการ  : พจนานุกรมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

๔. การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

๔.๑ การบริหารจัดการ                                        

ผังการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล

 

 

๔.๒ การติดตามประเมินผล
                ตัวชี้วัดการใช้ไอซีทีในการบริหารและบริการของราชบัณฑิตยสถาน

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ :
๑. ปริมาณฐานข้อมูลและเอกสารทางวิชาการที่ราชบัณฑิตยสถานจัดทำออกเผยแพร่ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
๒. จำนวนผู้เข้ามาใช้บริการค้นหาและสอบถามข้อมูลทางวิชาการ
๓. จำนวนเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายร่วมมือกันเผยแพร่งานของราชบัณฑิตยสถาน

  ยุทธศาสตร์ที่ ๒ :
๑. จำนวนสาขาวิชาที่ผลิตสื่อในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออกจำหน่าย
๒. ปริมาณการจัดจำหน่ายสื่อ

๕. สรุป
ตามยุทธศาสตร์หลัก ๆ ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของประเทศไทย งานของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นงาน ค้นคว้าวิจัยทางด้านวิชาการ การจัดทำศัพท์บัญญัติสาขาต่าง ๆ การจัดทำพจนานุกรมสาขาต่าง ๆ การจัดทำสารานุกรมสาขาต่าง ๆ  การจัดทำอักขรานุกรม  อนุกรมวิธาน และการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ภาษาไทย อาจไม่อยู่ในยุทธศาสตร์หลัก ๆ ที่กำหนดไว้ แต่โดยเนื้องานของราชบัณฑิตยสถานเป็นงานที่มุ่งเน้นให้บริการทางวิชาการแก่ ประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีการเรียนรู้และนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานด้านต่าง ๆ ที่ต้องการมากขึ้น ดังนั้น งานทั้งในยุทธศาสตร์ที่ ๑ และ ๒ จึงมีความเกี่ยวข้องกับ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การใช้ ICT เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและสังคมไทย ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙ เพราะเป็นยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมให้มีการใช้ไอซีทีในการยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนไทยและสังคมไทย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ด้านต่าง ๆ ตามมา.