ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย

         ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้

         มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้

๑. ใช้ละคำที่รู้กันดีแล้ว โดยละส่วนท้ายไว้เหลือแต่ส่วนหน้าของคำพอเป็นที่เข้าใจ

ตัวอย่าง
         (๑) กรุงเทพมหานคร เขียนเป็น กรุงเทพฯ 
         (๒) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เขียนเป็น โปรดเกล้าฯ

๒. ใช้ละส่วนท้ายของวิสามานยนาม ซึ่งได้กล่าวมาก่อนแล้ว

ตัวอย่าง
         (๑) มหามกุฏราชวิทยาลัย เขียนเป็น มหามกุฏฯ
         (๒)  กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เขียนเป็น กรมพระราชวังบวรฯ
         (๓) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เขียนเป็น วัดพระเชตุพนฯ

หมายเหตุ

         ก. คำแบบแผน โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ที่เขียนละส่วนท้ายเป็น โปรดเกล้าฯ ในเวลาอ่านจะต้องอ่านเต็ม
         ข. ถ้าไม่ใช่คำแบบแผน จะอ่านเต็มหรือไม่ก็ได้

. คำ “ฯพณฯ” อ่านว่า “พะนะท่าน” ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อ หรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีขึ้นไป และเอกอัครราชทูต เป็นต้น

ตัวอย่าง

         (๑)  ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี
         (๒)  ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
         (๓) ฯพณฯ นายศุภชัย  ภู่งาม ประธานศาลฎีกา
         (๔) ฯพณฯ เอกอัครราชทูตไทยประจำองค์การสหประชาชาติ

ที่มา : หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ ฯ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๖ (แก้ไขเพิ่มเติม) หน้า ๓๙