วงเล็บ หรือ นขลิขิต  (parenthesis)

        ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ (   ) ประกอบด้วยวงเล็บเปิด รูป (  และวงเล็บปิด รูป  )

        มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้

        ๑. ใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบาย จากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บนั้น จะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้โดยไม่ทำให้เนื้อความเสียไป

ตัวอย่าง

            อริยสัจ ๔ ได้แก่ ๑. ทุกข์  ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์)  ๓. ทุกขนิโรธ (การดับทุกข์)  และ ๔. ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา (ทางดำเนินไปสู่ความดับทุกข์). 

        ๒. ใช้ขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

ตัวอย่าง

             (๑)  เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน)
             (๒)  เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
             (๓)  พระธรรมราชานุวัตร (ฟู อตฺตสิโว ป. ๖)
(๔)  ……….. (นายเสริม  วินิจฉัยกุล)
(๕) สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา).

       ๓. ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้อย่อย อาจใช้เพียงวงเล็บปิดข้างเดียวก็ได้

ตัวอย่าง

             (๑)     (๑) หรือ ๑)
             ()     () หรือ ก)

       ๔. ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขบอกเชิงอรรถ

ตัวอย่าง

    

๑. วันรุ่งแรมสามค่ำ(๑)เป็นสำคัญ      อภิวันท์ลาบาทพระชินวร
……………………………………        ………………………………..
……………………………………        ………………………………..
……………………………………        ………………………………..
_____________________

(๑) แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๕๐.

 เครื่องหมาย  (  อ่านว่า “วงเล็บเปิด” และเครื่องหมาย  )  อ่านว่า “วงเล็บปิด”

ที่มา : หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ ฯ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๖ (แก้ไขเพิ่มเติม) หน้า ๑๙-๒๐