จุด (dot, point)

        ชื่อเครื่องหมาย รูปดังนี้ .

        มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้

๑. ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษรเพื่อแสดงว่าเป็นอักษรย่อ

ตัวอย่าง

        (๑) พ.. ย่อมาจาก พุทธศักราช 
        (๒) ค.. ย่อมาจาก คริสต์ศักราช
        (๓) วศ.. ย่อมาจาก วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

๒. ใช้เขียนไว้ข้างหลังตัวอักษรหรือตัวเลขที่บอกลำดับข้อ

ตัวอย่าง

        (๑) ก. [กอ]
              ข. [ขอ]
              ค. [คอ]

        (๒) ๑. [หฺนึ่ง]
              ๒. [สอง]
              ๓. [สาม]

ในกรณีที่มีข้อย่อย ให้ใส่ลำดับข้อย่อยไว้หลังจุด

ตัวอย่าง

        (๓) ๑.[หฺนึ่ง–จุด–หฺนึ่ง]
        (๔) ๑.๑๐ [หฺนึ่ง–จุด–สิบ]
        (๕) ๔..๑๒ [สี่–จุด–สาม–จุด–สิบ–สอง]

๓. ใช้คั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา

ตัวอย่าง

        ๑๐.๑๕ น. [สิบ–นา–ลิ–กา–สิบ–ห้า–นา–ที]

๔. ใช้เป็นจุดทศนิยม (หลังจุดทศนิยมให้อ่านตัวเลขเรียงกันไป)

ตัวอย่าง

        (๑) ๑.๒๓๕ [หฺนึ่ง–จุด–สอง–สาม–ห้า]
        (๒) ๓ นาที ๓๐.๗๕ วินาที [สาม–นา–ที–สาม–สิบ–จุด–เจ็ด–ห้า–วิ–นา–ที]
        (๓) ๓.๕๘๗ เมตร [สาม–จุด–ห้า–แปด–เจ็ด–เมด]
        (๔) ๔.๕๐๘ ล้านบาท [สี่–จุด–ห้า–สูน–แปด–ล้าน–บาด]

ยกเว้นในกรณีเงินตรา ถ้าอ่านเป็นหน่วยเงินตราได้ ให้อ่านตามหน่วยเงินตรานั้น ๆ เช่น

        (๔) ๔.๕๐ บาท [สี่–บาท–ห้า–สิบ–สะ–ตาง]
        (๕) ๘.๖๕ ดอลลาร์ [แปด–ดอน–ล่า–หก–สิบ–ห้า–เซ็น]

๕. ใช้บอกว่าเป็นตัวอักษรนำ อักษรควบ ในการบอกคำอ่าน

ตัวอย่าง
        (๑) หนึ่ง อ่านว่า หฺนึ่ง
        (๒) ปลา อ่านว่า ปฺลา

๖. ใช้บอกว่าเป็นตัวอักษรควบหรือเป็นตัวสะกดในการเขียนภาษาบาลีสันสกฤตที่เขียนด้วยอักษรไทย

ตัวอย่าง
        (๑) มิตฺร [มิด–ตฺระ]
        (๒) ราชนฺ [รา–ชัน]
        (๓) นโม ตสฺส [นะ–โม–ตัด–สะ]

๑๐. ใช้เขียนแทนตัวอักษรที่ชำรุดหรืออ่านไม่ออกในการคัดลอกข้อความจากจารึก โดยใช้จุด ๑ จุด แทนอักษร ๑ ตัว

ตัวอย่าง
        คำจารึก องม่าน ี เมองน.. ี เมองพลววพ๋นฝงงของ
        คำอ่าน องม่าน เมืองน.. เมืองพลัว พ้นฝั่งของ

ที่มา : หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ ฯ หน้า ๒-๔