ยัติภาค (dash)

        ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ —  (ยาว ๒–๓ ช่วงตัวอักษร)

        มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้

๑. ใช้ในความหมายว่า “และ” หรือ “กับ” เพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำ ๒ คำ

ตัวอย่าง

        (๑) เรณูสัญญา
              มีความยินดีขอเชิญร่วมรับประทานอาหาร
              เนื่องในงานมงคลสมรส
        (๒) ฟุตบอลคิงส์คัปชิงชนะเลิศระหว่างไทยอินโดนีเซีย ที่สนามศุภชลาศัย เริ่ม ๑๘.๐๐ น.
        (๓) ภาษาตระกูลไทย—จีน

๒. ใช้ขยายความ

ตัวอย่าง

        (๑) ถิ่น—พายัพ (หมายความว่า เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคพายัพ).
        (๒) ขุนช้างขุนแผน—แจ้ง (หมายความว่า เป็นเรื่องขุนช้างขุนแผนสำนวนครูแจ้ง).

๓. ใช้ในความหมายว่า “ถึง” เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่ ฯลฯ เช่นเดียวกับเครื่องหมายยัติภังค์

ตัวอย่าง

        (๑) เวลา ๑๐.๓๐—๑๒.๐๐ น. [เว–ลา–สิบ–นา–ลิ–กา–สาม–สิบ–นา–ที–ถึง–สิบ–สอง–นา–ลิ–กา]
        (๒) ตั้งแต่วันจันทร์—วันเสาร์ [ตั้ง–แต่–วัน–จัน–ถึง–วัน–เสา]
        (๓) ประมาณ ๕๐๐—๖๐๐ คน [ปฺระ–มาน–ห้า–ร้อย–ถึง–หก–ร้อย–คน]
        (๔) ระยะทางลำปาง—เชียงใหม่ [ระ–ยะ–ทาง–ลำ–ปาง–ถึง–เชียง–ไหฺม่]

๔. ใช้แทนคำว่า “เป็น”

ตัวอย่าง

        พจนานุกรมไทย—อังกฤษ (หมายความว่า พจนานุกรมไทยเป็นอังกฤษ).

๕. ใช้แสดงลำดับย่อยของรายการที่ไม่ต้องการใส่ตัวอักษรหรือตัวเลขบอกลำดับข้อ

ตัวอย่าง

        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจสรุปความเคลื่อนไหวทางวรรณคดีได้ดังนี้

             วรรณคดีประเภทร้อยกรอง เจริญถึงขีดสุดอีกวาระหนึ่ง
             วรรณคดีประเภทร้อยแก้ว ก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
             เป็นระยะเวลาที่คติทางตะวันตกเข้ามาในวงวรรณคดีไทยมากที่สุด ถ้าเทียบกับสมัยก่อน ๆ
             หวนนิยมวรรณคดีสันสกฤตอีกวาระหนึ่งเหมือนสมัยยุธยา แต่ในคราวนี้ผ่านมาทางต้นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ.

ที่มา : หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ ฯ หน้า ๑๗-๑๘