การอ่านตัวเลขบอกเวลา

        การอ่านชั่วโมงที่ไม่มีจำนวนนาที เช่น

เขียน

 อ่านว่า

๐๕.๐๐ น. หรือ  ๐๕:๐๐ น.  ห้า-นา-ลิ-กา
๒๔.๐๐ น. หรือ ๒๔:๐๐ น.  ยี่-สิบ-สี่-นา-ลิ-กา
๐๐.๐๐ น. หรือ ๐๐:๐๐ น.  สูน-นา-ลิ-กา

        การอ่านชั่วโมงกับนาที เช่น

เขียน

อ่านว่า

๑๑.๓๕ น. หรือ ๑๑:๓๕ น.  สิบ-เอ็ด-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-ห้า-นา-ที
๑๖.๓๐ น. หรือ ๑๖:๓๐ น.  สิบ-หก-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-นา-ที

        การอ่าน ชั่วโมง นาที และวินาที เช่น

เขียน

อ่านว่า

๗:๓๐:๔๕  เจ็ด-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-นา-ที-สี่-สิบ-ห้า-วิ-นา-ที
๐๒:๒๘:๑๕  สอง-นา-ลิ-กา-ยี่-สิบ-แปด- นา-ที-สิบ-ห้า-วิ-นา-ที

        การอ่านเวลาที่มีเศษของวินาที ตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่เป็นเศษของวินาที ให้อ่านเรียงตัว เช่น

เขียน

อ่านว่า

๘:๐๒:๓๗.๘๖  แปด-นา-ลิ-กา-สอง-นา-ที-สาม-สิบ-เจ็ด-จุด-แปด-หก-วิ-นา-ที
๑๐-๑๔-๒๔.๓๗  สิบ-นา-ลิ-กา-สิบ-สี่-นา-ที-ยี่-สิบ-สี่-จุด-สาม-เจ็ด-วิ-นา-ที


หมายเหตุ

     การเขียนตัวเลขบอกเวลาโดยใช้เครื่องหมายทวิภาค “:” คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนอย่างทั่วไป ส่วนการใช้เครื่องหมายยัติภังค์ “-” คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนที่ใช้ในการเดินเรือหรือทางดาราศาสตร์

ที่มา  หนังสือ อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๑๖,
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
หน้า ๖๘-๖๙