ค้นคำอย่างไรในพจนานุกรม (๑)

ราชบัณฑิตยสถานมักจะได้รับแจ้งจากผู้ใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่า พจนานุกรมฯ ไม่ได้เก็บคำหลายคำไว้ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่คันคำดังกล่าวดู ก็พบว่าคำบางคำมีเก็บไว้แต่ผู้ใช้พจนานุกรมฯ ค้นไม่พบ  เหตุหนึ่งที่ค้นไม่พบอาจจะเนื่องมาจากไม่ทราบวิธีการเก็บคำของพจนานุกรมฯ   อันที่จริง  หนังสือทุกประเภทมีคำนำ คำชี้แจง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้อ่านจะได้ประโยชน์ในภาพรวมก่อนที่จะอ่านหรือใช้หนังสือเล่มนั้น  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็เช่นเดียวกัน  มีคำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการเก็บคำไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อผู้ใช้ในการค้นคำ   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด เก็บคำเรียงตามลำดับตัวอักษร คือ ก ข ฃ ค ฯลฯ จนถึง อ ฮ  ไม่ได้เรียงตามเสียง เช่น ถ้าจะคันคำว่า ทราบ ก็ต้องไปค้นที่หมวดอักษร  ไม่ใช่ไปค้นที่หมวดอักษร   หรือจะค้นคำว่า เหมา ก็ต้องไปค้นที่หมวดอักษร ไม่ใช่ไปค้นที่หมวดอักษร    ส่วน ฤ ฤๅ เรียงลำดับไว้หลังตัว และ ฦ ฦๅ เรียงลำดับไว้หลังตัว

เมื่อทราบว่าคำที่จะค้นอยู่ในหมวดอักษรใดแล้ว ต่อไปก็ต้องดูว่าคำนั้นมีรูปสระใด และอยู่ในลำดับใด  สระในพจนานุกรมฯ ไม่ได้ลำดับไว้ตามเสียง แต่ลำดับไว้ตามรูป ดังนี้  ะ   ั   า    ิ    ี    ึ    ื   ุ    ู เ  แ  โ ไ  ใ   รูปสระที่ประสมกันหลายรูปจะจัดเรียงตามลำดับรูปสระที่อยู่ก่อนและหลังตามลำดับข้างต้น เช่น  เ   เ ะ    เ า   เ าะ   เ  ิ    เ  ี   เ  ีะ   เ  ื   เ  ืะ  ในส่วนของการเรียงลำดับคำ จะลำดับตามพยัญชนะก่อนเป็นสำคัญ แล้วจึงลำดับตามรูปสระ ดังนั้น คำที่ไม่มีสระปรากฏเป็นรูปประสมอยู่ด้วย จึงอยู่ข้างหน้า เช่น กก อยู่หน้า กะ  หรือ ขลา อยู่หน้า ขะข่ำ  ส่วนคำที่มีพยัญชนะกับสระปรากฏเป็นรูปประสมกันก็ใช้หลักการลำดับคำข้างต้นเช่นเดียวกัน เช่น จริก จริม จรี จริง จรุก และโดยปรกติจะไม่ลำดับตามวรรณยุกต์ เช่น ไต้ก๋ง ไต้ฝุ่น ไต่ไม้  แต่จะจัดวรรณยุกต์เข้าในลำดับต่อเมื่อคำนั้นเป็นคำที่มีตัวสะกดการันต์เหมือนกัน เช่น ไก ไก่ ไก้ ไก๊ ไก๋   หรือ กระตุ่น กระตุ้น  คำที่มี   ็ (ไม้ไต่คู้) จะลำดับอยู่ก่อนวรรณยุกต์ เช่น เก็ง เกง* เก่ง เก้ง เก๊ง* เก๋ง  (* เป็นคำที่มีเสียงในภาษาแต่ไม่มีความหมาย)

แสงจันทร์  แสนสุภา

๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗