สวามิภักดิ์

สวามิภักดิ์ (อ่านว่า สะ-หฺวา-มิ-พัก) ประกอบด้วยคำว่า สวามิ กับ ภักดิ์ ซึ่งมาจากภาษาสันสกฤตว่า สฺวามินฺ (อ่านว่า สะ-วา-มิน) และ ภกฺติ (อ่านว่า พัก-ติ). สฺวามินฺ (อ่านว่า สะ-วา-มิน) หรือ สวามิ (อ่านว่า สะ-หฺวา-มิ) แปลว่า  เจ้า, เจ้าของ, ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นนาย. ภาษาบาลีใช้ว่า สามี.  ส่วนคำว่า ภกฺติ (อ่านว่า พัก-ติ) หรือ ภักดี แปลว่า ความจงรัก, ความภักดี, ความเลื่อมใสยิ่ง.  สวามิภักดิ์ หรือ สามิภักดิ์ แปลว่า ความจงรักภักดีต่อเจ้านาย หมายถึง ยอมตนหรือมอบตนให้อยู่ใต้อำนาจ  เช่น รามเกียรติ์ ตอนพิเภกสวามิภักดิ์ คือ ตอนที่พิเภกถวายตัวเป็นข้าจงรักภักดีต่อพระราม.  ในคำกลอนสุภาษิตของ พระธรรมศาสตร์ (สุข) เรื่องพิเภกสอนบุตร กล่าวถึงคำสอนของพิเภกที่ให้มีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อเจ้านายว่า

“จงสัตย์ซื่อสวามิภักดิ์รักนาย                  อย่ามองหมายถมทับลับหลัง
เรื่องสามก๊กตอนสุมาอี้สั่งเสียสุมาสูกับสุมาเจียวบุตรของตนว่า  “…บัดนี้บิดาจะตายแล้ว เจ้าจะเป็นข้าราชการสืบไป จงตั้งใจสัตย์ซื่อสามิภักดิ์ต่อเจ้าแผ่นดิน กว่าจะสิ้นชีวิต ทำการสิ่งใดอย่าเบาแก่ความ จงตรึกตรองให้ละเอียดแล้วจึงทำ…”

๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒