17201013_1413676458690445_6291528547466736777_n 17201140_1413675652023859_5305360483677611864_n 17201404_1413675772023847_4609947866945150969_n

เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐ ในการประชุมสภาราชบัณฑิต ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมชั้น ๔ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้แก่คณะผู้บริหาร สำนักงานราชบัณฑิตยสภา พร้อมได้ร่วมประชุมและบรรยาย เรื่อง “Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” (Thailand’s Development Model towards Stability, Prosperity and Sustainability) โดยมีราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก ผู้บริหาร และข้าราชการสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ให้การต้อนรับและร่วมฟังการบรรยาย

17103259_1413675662023858_2668002188671591040_n 17191147_1413676308690460_4593436110366856330_n 17191248_1413675948690496_6569530675947197201_n 17191357_1413676092023815_7388582987927918416_n

นายสุวิทย์  เมษินทรีย์ บรรยายว่า “Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยมีการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบเพียงครั้งเดียวในสมัยล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ ณ ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในระยะ “เปลี่ยนผ่าน” วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมือง หลายต่อหลายครั้ง ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ ทำให้ต้อง มีการปฏิรูปขนานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากดำเนินการปฏิรูปสำเร็จจะทำให้ประเทศไทยสามารถ ก้าวไปสู่ “ประเทศในโลกที่หนึ่ง” (First World Nation) แต่หากปฏิรูปไม่สำเร็จประเทศไทย อาจต้องเผชิญกับ “ทศวรรษแห่งความมืดมน” (Lost Decades) ไปอีกยาวนาน

เมื่อโลกเปลี่ยนแบบไม่หวนกลับ (Irreversible) ถ้าเราไม่เปลี่ยน โลกจะเปลี่ยนเรา ดังนั้น เราควรปรับตัวโดยการ “เปลี่ยน” Mindset, Skill Set, Behavior Set และ Tool Set สามกับดักที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ในอดีตจะพบว่าประเทศไทยมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นจาก Thailand 1.0 ที่เน้นเกษตรกรรม มาสู่ Thailand 2.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และพัฒนาสู่ Thailand 3.0 ที่เน้นอุตสาหกรรม ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จวบจนปัจจุบัน ในช่วงต้นของการขับเคลื่อน Thailand 3.0 อัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ ๗-๘ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มี การคาดหวังว่า ประเทศไทยจะก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs-Newly Industrialized Countries) ซึ่งดูเหมือนว่าทุกอย่างจะ ดำเนินไปได้ด้วยดี แต่ในความเป็นจริง Thailand 3.0 เป็นโมเดล การพัฒนาที่ค่อนข้าง “เปราะบาง” เพราะใช้วิธีการแบบ “มักง่าย” เป็น การพัฒนาบน “การปกชํา” จึงมีการเจริญเติบโตแบบรากแขนง เทคโนโลยีและทุนของต่างชาติที่นำเข้ามาไม่มีกระบวนการถ่ายทอด เทคโนโลยีอย่างจริงจัง ขาดการสะสมทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา ทุนมนุษย์ การที่ไม่มีฐานรากที่แข็งแรงของตนเอง ละเลยการสร้างความ เข้มแข็งจากภายใน ในที่สุดประเทศไทยจึงต้องเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้ง ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งหลังจากการเกิดวิกฤตแล้ว อัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศไทยได้ตกลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ ๓-๔ มาเกือบ ๒๐ ปี จวบจนปจจุบัน นี่คือภาวะของการติดอยู่ในกับดักประเทศรายได ปานกลาง (Middle Income Trap)

นอกเหนือจากการติดอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ภายใต้ Thailand 3.0 ประเทศไทยต้องเผชิญกับอีก ๒ กับดักสำคัญคือ กับดักความเหลื่อมลํ้า (Inequality Trap) กล่าวคือ ช่องว่างของรายได้ และโอกาสของคนจนและคนรวยถ่างออกมากขึ้น และกับดักความ ไม่สมดุล (Imbalance Trap) โดยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทย เน้นความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แต่ละเลยการรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้าง สังคมที่อยู่ดีมีสุข และการยกระดับศักยภาพและภูมิปญญามนุษย์ จนส่งผลกระทบเชิงลบในมิติต่าง ๆ มากมาย ทั้ง ๓ กับดักใน Thailand 3.0 จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทย ไม่สามารถสร้างความมั่งคั่ง มีความมั่นคงในแนวทางที่ยั่งยืน ได้มากกว่านี้ นี่คือเหตุผลสำคัญของการปรับเปลี่ยนโมเดลทางเศรษฐกิจ จาก Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0

โมเดล Thailand 4.0 Thailand 4.0 เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่จะนำพาประเทศไทยให้ หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ และ กับดักความไม่สมดุล พร้อมๆ กับเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ ประเทศ ในโลกที่หนึ่ง ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในบริบทของโลก ยุคดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ได้วางไว้ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ควบคู่ไปกับการ เชื่อมโยงกับประชาคมโลก ตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยขับเคลื่อนผ่านกลไก “ประชารัฐ” การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก Thailand 4.0 เป็นโมเดลที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาประเทศ ดังที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชดำรัส หลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ครั้งแรกในงานพระราชทาน ปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพุธที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ไว้ความตอนหนึ่งว่า

“การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการ และอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคง พร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเท สร้างความเจริญ ยกฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นได้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และ ของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ได้ ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวในที่สุด” Thailand 4.0 น้อมนำพระราชดำรัสข้างต้นของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และถอดรหัสออกมาเป็น ๒ ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ ๑.การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน (Strength from Within) ๒.การเชื่อมโยงกับประชาคมโลก (Connect to the World) สืบเนื่องจากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัฐบาลจึงได้กำหนดทิศทางการพัฒนาโมเดล ประเทศไทย 4.0 ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบไป ด้วย ๕ วาระ ดังนี้

๑. การเตรียมคนไทย ๔.๐ ให้พร้อมก้าวสู่โลกที่หนึ่ง

๒. การสร้างวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

๓. การพัฒนาเกษตร อุตสาหกรรม และบริการเป้าหมาย

๔. การเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศผ่าน ๑๘ กลุ่ม จังหวัด และ ๗๖ จังหวัด

๕. การเชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก

วาระทั้งหมดเปรียบเสมือนการวางเสาเข็มหลักของประเทศซึ่งสามารถ เปรียบได้ดังนี้

๑. การตระเตรียมเมล็ดพันธุชุดใหม่ ด้วยการเตรียมคนไทย ๔.๐ ให้พร้อม ในการก้าวสู่โลกที่หนึ่ง

๒. การเปลี่ยนจากการปกชําสู่การมีรากแกวที่แข็งแรง ด้วยการสร้าง วิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เช่น Smart Farmers, การยก ระดับความสามารถของ SMEs การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการ บ่มเพาะ Startups เป็นต้น

 

17200990_1413675835357174_2041513359001337459_n 17201166_1413676145357143_1170378001907713060_n 17203029_1413676375357120_9029870429852730620_n

17264156_1413676102023814_1423478785909679331_n 17264998_1413675825357175_2843678199895274034_n 17265052_1413676345357123_6685968719542031546_n